กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศปลดล็อกส่วนของกัญชาและกัญชงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นช่อดอก และเมล็ดกัญชา (เนื่องจากตามอนุสัญญายาเสพติดระหว่างประเทศยังควบคุมเป็นยาเสพติด แต่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้) โดยที่สารสกัด CBD และในส่วนสาร THC ต้องไม่เกิน 2% และการปลูก สกัด และผลิต ทั้งหมดยังต้องขออนุญาตจาก อย. ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับที่ 7 ทั้งหมดนี้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2563 เป็นต้นมา
ดาบสองคม คุณอนันต์หรือโทษมหันต์?
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกัญชา (Cannabis) ใหม่ ทบทวนประโยชน์ของพืชชนิดนี้ที่มีต่อสุขภาพและมีคนทั้งกินใช้มามากกว่า 1,000 ปีก่อนที่จะถูกติดป้ายเป็น "หนึ่งในวายร้ายมอมเมาสุขภาพ"
กัญชา ภาษาอังกฤษ คือ Cannabis Hemp Marijuana ทั้งสามคำนี้มาจากพืชสายพันธุ์เดียวกันชื่อ Cannabis Sativa กัญชาที่ใช้เพื่อการแพทย์จะเป็นพันธุ์ผสมของ Cannabis Sativa และ Cannabis Indica (ปลูกในอินเดีย)
พืชตระกูล Cannabis จะมีสาร Cannabinoids ซึ่งเป็นสารที่มีมากกว่า 60 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ Cannabidiol (หรือ CBD ไม่ทำให้มึนเมาเพราะไม่ส่งผลต่อระบบประสาท) และ TetraHydroCannabinol (หรือ THC ส่งผลต่อประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย) สารทั้งสองมีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์ เช่น สารแคนนาบินอยด์ในสมองเราผลิตออกมาเพื่อคลายความกังวล ลดความเศร้าในปริมาณที่เหมาะสม
การนำสารทั้งของในกัญชา (Cannabis) มาใช้ทางการแพทย์
* สาร CBD นำมาใช้บรรเทาอาการไมเกรน ซึมเศร้าืการอักเสบของกล้ามเนื้อ ลมชัก และอาการทางจิต
* สาร THC ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก เพิ่มความอยากอาหาร มีผลต่ออารมณ์ ควารู้สึกและพฤติกรรม
ในต่างประเทศมีการทำวิจัยออกมาอย่างต่อเนื่อง ใน USA มีการสกัดสาร CBD เพื่อรักษาอาการลมชัก และเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาเฉพาะโรคในรูปแบบแคปซูล ยาน้ำ สเปร่ย์พ่น
ผู้ที่ยังไม่ควรใช้ใบกัญชา
- อายุน้อยกว่า 25 ปี
- ผู้มีโรคประจำตัว มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต หัวใจและหลอดเลือด
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ใช้ยาสลายลิ่มเลือด
Hemp หรือ กัญชง ลักษณะลำต้นสูงชะลูดตรง มีสาร CBD สูง มี THC ต่ำ
Marijuana ต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเยอะ มีสาร CBD ต่ำ มี THC สูง
สาระสำคัญในประกาศ
สรุปรายละเอียดตามประกาศกระทรวงสาธาณสุข
* ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2561(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ข้อ 2 ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
* กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็น ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก (ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย (ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมี สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
(ง) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมียาเสพติดอีก 4 ชนิด ได้แก่ กัญชง, พืชกระท่อม, พืชฝิ่น, เห็ดขี้ควาย โดยให้มีผลวันที่ 15 ธันวาคม 2563
Cannabis World : https://www.facebook.com/Cannabis-World-100798815384218/
Comments